บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)



บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)


          ข้อมูลบริษัท
ธุรกิจของเราสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท : ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่าพื้นที่ ธุรกิจค้าปลีกครอบคลุมร้านค้าทุกรูปแบบตั้งแต่ขนาดใหญ่ถึงร้านค้าขนาดเล็กในชุมชน ส่วนธุรกิจให้เช่าพื้นที่ เป็นธุรกิจที่ให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าใน ร้านทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือมาร์เก็ต

ธุรกิจค้าปลีก
ในร้านค้าปลีกของเราจะมีการนำเสนอความหลายหลายของสินค้าให้กับลูกค้า ตั้งแต่อาหารสด เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม โดยปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกซื้อมากกว่า 100,000 SKUs เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยสามารถแบ่งออกเป็นห้าประเภท ดังนี้
อาหารสด: เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้สดและผัก (ทั้งพร้อมปรุงและพร้อมรับประทาน) อาหารแช่แข็ง อาหารอบ สมุนไพร และเครื่องเทศต่างๆ
อาหารแห้งเครื่องปรุงรสและประกอบอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ อาทิ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ ขนมขบเคี้ยว ของใช้ส่วนตัว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อาหารและของใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง
เสื้อผ้าและเครื่องประดับ: สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี เด็ก และทารก รวมถึงรองเท้าและเครื่องสำอาง
เครื่องใช้ไฟฟ้า:  อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านานาชนิด เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ฯลฯ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน เทป ซีดี อุปกรณ์ประดับยนต์ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือซ่อมแซมบำรุงรักษาบ้าน
อุปกรณ์ตกแต่ง และของใช้ภายในบ้าน: เฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว บรรจุภัณฑ์ และเครื่องใช้พลาสติก อุปกรณ์กีฬา และของ เด็กเล่น
รูปแบบและขนาดของร้านค้า มีหลากหลายจากห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ไปสู่ร้านค้าในชุมชน โดยมุ่งเน้นการนำเสนอ ราคาที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า รูปแบบและขนาดร้านค้ามีดังนี้
ไฮเปอร์มาร์เก็ตสำหรับร้านค้าที่ใหญ่ที่สุดของเราสามารถนำเสนอสินค้าอุปโภคบริโภคให้เลือกมากมายโดยมีจำนวนสินค้าเฉลี่ย 80,000 ถึง 100,000 SKUs ขนาดไฮเปอร์มาร์เก็ตของเราอาจมีขนาดที่แตกต่างจาก 4,000 ถึง 12,000 ตรม สัดส่วนของยอดขายผลิตภัณฑ์ของร้านค้าเหล่านี้ มีสัดส่วนยอดขายสินค้าประเภทอาหารประมาณ 60% และ 40% เป็นสัดส่วนยอดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร
ปัจจุบันเราบริหารร้านไฮเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ 2 ชื่อคือบิ๊กซีและบิ๊กซีเอ๊กซ์ตร้า ทั้งสอง แบรนด์มุ่งเน้นการเป็นผู้นำทางด้านราคา โดยที่บิ๊กซีมีการกำหนดเป้าหมายหลัก โดยมุ่งบริการต่อกลุ่มลูกค้าที่มีความอ่อนไหวเรื่องราคา ขณะที่บิ๊กซีเอ็กซ์ตร้ามุ่งเน้นเพิ่มแผนกสินค้านำเข้าและความหลากหลายของอาหารสดและกลุ่มสินค้าที่มีราคาสูง
บิ๊กซีมาร์เก็ตตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกลุ่มลูกค้า โดยบิ๊กซีมาร์เก็ตนำเสนอราคาและสินค้าโปรโมชั่นเดียวกันกับที่ขายในร้านไฮปอร์มาร์เก็ตแต่ เนื่องจากพื้นที่ขายมีขนาดจำกัด มีตั้งแต่ 750 ถึง 2,000 ตารางเมตร ดังนั้นจำนวนของรายการสินค้าที่นำเสนอจะถูก จำกัดโดยเฉลี่ยมีสินค้าอยู่ที่ 15,000 SKUs โดยแบ่งสัดส่วนเป็นสินค้าประเภทอาหารประมาณ 80% และ 20% เป็นรายการสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร
ร้านค้าในชุมชนมินิบิ๊กซีเป็นร้านค้าที่ตั้งอยู่ภายในชุมชน และในสถานีน้ำมันบางจากตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 นำเสนอประสบการณ์การจับจ่ายที่สะดวกสบายสำหรับลูกค้า โดยคัดสรรสินค้ามาจำหน่ายจำนวน 4,000 - 4,300 SKUs แบ่งเป็นสินค้าประเภทอาหารประมาณ 90%รวมถึงอาหารสด และ10% เป็นรายการสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร
ร้านสุขภาพและความงามเพรียว เป็นร้านสุขภาพและความงาม ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในไฮเปอร์มาร์เก็ตบิ๊กซีและบิ๊กซีมาร์เก็ต  สินค้าที่จัดจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เสริม หรือเพิ่มเติมแก่ร้านดังกล่าว ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ขายอยู่ในเพียวมีจำนวน 1,700 SKUs ซึงโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินค้าประเภทยาและเครื่องสำอาง
รูปแบบอื่นๆ: บิ๊กซีมุ่งหารูปแบบการบริการใหม่ๆเพื่อให้บริการลูกค้าและการพัฒนารูปแบบร้านค้าของเราเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา


ธุรกิจให้เช่าสถานที่
ศูนย์การค้าของเราซึ่งอยู่คู่กับไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือบิ๊กซีมาร์เก็ต เป็นศูนย์รวมการจับจ่ายใช้สอยที่ครบวงจร พร้อมสรรด้วยร้านค้าเช่าที่มีการคัดเลือกผู้เช่าด้วยผู้ชำนาญอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของเราจะได้รับการบริการทั้งหมดที่ต้องการ ภายใต้หลังคาเดียว บริการที่ศูนย์การค้าของเราได้สรรหาไว้ สามารถแบ่งออกเป็นสี่ประเภทเหล่านี้:
อาหารและเครื่องดื่ม: ร้านอาหารซึ่งประกอบด้วย ร้านอาหารแฟรนไชส์ ​​และร้านอาหารในศูนย์อาหาร
บันเทิง: โรงภาพยนตร์ คาราโอเกะ และสวนสนุกสำหรับเด็ก
ร้านค้าพิเศษ: ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้าแฟชั่น ร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ร้านโทรศัพท์มือถือ และร้านขายยา
บริการ: ธนาคาร ร้านซักแห้ง และร้านทำผม
การแบ่งแยกประเภทพื้นที่ให้เช่าของเรา แบ่งเป็นห้าประเภท ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเช่าและประเภทของธุรกิจของร้านค้าเช่า
กลุ่มร้านค้าพาณิชย์: กลุ่มผู้เช่าเหล่านี้ ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของศูนย์การค้าของเราให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากชื่อเสียงของร้านเหล่านี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เงื่อนไขการเช่าของร้านเหล่านี้มักจะมีระยะเวลาการเช่าปานกลาง โดยส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่มีเครือข่ายของเชนขนาดใหญ่ เช่น ร้านอาหาร ธนาคาร ฯลฯ
ผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ที่เช่าพื้นที่ติดกับศูนย์การค้า: นอกเหนือจากห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือ บิ๊กซีมาร์เก็ตจะ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้า แล้วยังมีกลุ่มผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ ซึ่งอยู่ติดกับศูนย์การค้า โดยทำสัญญาเช่าระยะยาวกับเรา และมีส่วนช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยของลูกค้า มีความสะดวกสบายมากขึ้น อาทิ เช่น    โฮมโปร (DIY), โรงภาพยนตร์, ร้านค้าไอที, พาวเวอร์บาย (อิเล็กทรอนิกส์) เป็นต้น
อาหารและเครื่องดื่มศูนย์อาหารนำเสนอความหลากหลายของอาหารในราคาที่ประหยัด โดยร้านอาหารเหล่านี้ มีระยะเวลาการเช่าหนึ่งปี
บิ๊กบาซ่า: ศุนย์รวมร้านค้าขนาดเล็กจำนวนมากที่ขายสินค้าต่างๆรวมถึงร้านค้าสินค้าแฟชั่น, ร้านเครื่องประดับ, ร้านโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ โดยมีระยะเวลาการเช่าป็นเวลาหนึ่งปี
ร้านค้าคีออส: ร้านค้าเช่าขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณทางเดิน โดยเป็นลักษณะสัญญาเช่าเป็นระยะสั้นๆ เช่น 1เดือน โดยการจ่ายชำระค่าเช่าล่วงหน้า

ประวัติบริษัท

พ.ศ. 2537

·         เปิดสาขาแรกบนถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2542

·         บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ กลุ่มบริษัท คาสิโน กรุ๊ป (Casino Group) จากประเทศฝรั่งเศส โดย คาสิโน กรุ๊ป เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 530 ล้านหุ้น และกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หลังจากเพิ่มทุนดังกล่าว
·         หลังจากการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานในบิ๊กซี คาสิโนกรุ๊ปตัดสินใจขายธุรกิจผลิตเสื้อผ้าทั้งหมด เพื่อที่จะมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจค้าปลีกและเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

พ.ศ. 2545

·         บิ๊กซีได้เปิดตัว มูลนิธิบิ๊กซี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส

พ.ศ. 2548

·         ทดลองเปิดร้านบิ๊กซีในรูปแบบกะทัดรัด ซึ่งมีพื้นที่ค้าปลีกเฉลี่ย 6,000 ตารางเมตรเมื่อเทียบกับ 10,000 ตารางเมตรของไฮเปอร์มาร์เก็ตปกติ

พ.ศ. 2550

·         บิ๊กซีเปิดตัวสินค้า ตราบิ๊กซี

พ.ศ. 2551

·         บิ๊กซีเปิดตัว แฮปปี้บาท

พ.ศ. 2552

·         บิ๊กซีเปิดตัว บัตรสมาชิกรูปแบบใหม่ บิ๊กการ์ด

พ.ศ. 2553

·         บิ๊กการ์ด มีสมาชิกบัตรกว่า 5 ล้านคน
·         เปิดร้านขนาดเล็กที่เรียกว่า บิ๊กซีมาร์เก็ต
·         บิ๊กซีเปิดตัวสินค้าตราบิ๊กซี ที่เป็นกลุ่มพรีเมี่ยมโดยเน้นที่คุณภาพสินค้า

พ.ศ. 2554

·         บิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย (จำนวน 43 สาขา) และได้ตอกย้ำ การเป็นผู้นำร่วมในการดำเนินธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย
·         คาร์ฟูร์จำนวน 15 สาขา ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า ห้างไฮเปอร์ มาร์เก็ตรูปแบบใหม่ ระดับพรีเมี่ยม โดยกำหนดเป้าหมายลูกค้าที่มีรายได้ระดับ กลางถึงสูง
·         เปิดตัวบิ๊กซีจัมโบ้ ซึ่งเป็นร้านค้ารูปแบบใหม่ที่มีขนาดใหญ่ กำหนดกลุ่ม ลูกค้าเป้าหมายเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โรงแรมและ กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจจัดเลี้ยง สถาบัน หรือครอบครัวขนาดใหญ่

พ.ศ. 2555

·         จับมือกับ บมจ. บางจากปิโตเลียม นำร้านค้ามินิบิ๊กซีไปเปิดให้บริการใน สถานีบริการน้ำมันบางจากทั่วประเทศ โดยมีร้านค้ามินิบิ๊กซี 7 สาขาที่บริษัท ทดลองเปิดในสถานีบริการน้ำมันบางจาก
·         ประสบความสำเร็จในการระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นแบบจำเพาะ เจาะจงจำนวน 26.4 ล้านหุ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555

พ.ศ. 2556

·         เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 20 ปีของบริษัท บิ๊กซีเริ่มทำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมโดยให้พนักงานเป็นผู้ริเริ่ม และนำบุคลากรจากชุมชนรอบข้างสาขามาทำโครงการร่วมกัน โดยเลือกโครงการที่ชุมชนนั้นๆ ให้ความสนใจ และมีความเหมาะสม
·         เมื่อเมษายน 2556 บริษัทเข้าทำสัญญาให้ความร่วมมือเยี่ยงพันธมิตรทางธุรกิจคนพิเศษกับบางจาก ปิโตรเลียม โดยตั้งเป้าในการเปิดร้าน มินิบิ๊กซีในปั๊มน้ำมันบางจาก
·         เป็นตัวแทนบริษัทประกันภัยหลายรายเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกสรรกรมธรรม์แบบง่ายแก่การสมัคร และคุ้มราคาอย่างหลากหลายรูปแบบ

พ.ศ. 2557

·         เป็นปีที่มีพัฒนาการด้านซัพพลายเชนอย่างมาก กล่าวคือ ไตรมาสที่ 2 เปิดศูนย์กระจายสินค้าสำหรับร้านค้ามินิบิ๊กซี ต่อมาในไตรมาสที่ 3 เปิดศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า พร้อมกับเริ่มสร้างศูนย์กระจายสินค้าสำหรับสินค้าประเภทอาหารสด
·         เร่งการพัฒนาธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์) โดยในไตรมาสที่ 1 มีการตั้งบริษัทที่มุ่งเน้นด้วยวัตถุประสงค์ด้านอี-คอมเมิร์ซอย่างเดียวภายใต้ชื่อ ซีดิสเคาท์.ซีโอ.ทีเอช (Cdiscount.co.th) และต่อมาในไตรมาสที่ 3 ก็พยายามปรับโฉม และประสิทธิภาพของการขายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของบริษัท
·         มีกิจกรรมเรื่องการกระชับค่าใช้จ่าย และพัฒนาประสิทธิผลการทำงานในหลายด้าน
·         มีการขยายสาขาในทุกประเภท ต่อเนื่องทั้งปี

 วิสัยทัศน์และพันธกิจ






 นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทมีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เคารพในสิทธิความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และสนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ในปี 2557 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติหลักการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี ทั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รายละเอียดเรื่อง หลักการด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดูในเว็บไซต์ของบริษัท (www.bigc.co.th) หน้านักลงทุนสัมพันธ์) เพื่อเพิ่มให้การกำกับดูแลกิจการบริษัทมีความเข้มแข็งขึ้น รวมทั้งได้ทบทวนและจัดทำคู่มือจริยธรรมทางธุรกิจ ฉบับปรับปรุงใหม่ ตามคำแนะนำของรายงานการตรวจประเมินความแตกต่าง ของสำนักงานที่ปรึกษาอิสระ โดยให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ลงนามรับทราบและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในทุกกรณี เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็นปกติวิสัยในการทำงานของบริษัท
การกำกับดูแลกิจการดำเนินการของบริษัทย่อย และบริษัทร่วม : บริษัทย่อยใช้นโยบาย และการกำกับดูแลกิจการในลักษณะเดียวกันกับบิ๊กซี สำหรับบริษัทร่วม มีการส่งผู้แทนไปเป็นคณะกรรมการตามสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อร่วมหารือในกิจการสำคัญ
สรุปสาระสำคัญการดำเนินการตามหลักการและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ


 หลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดีที่บริษัทไม่สามารถปฏิบัติได้
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้ทำการตรวจสอบประเมินความแตกต่าง ในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปี 2555 ของตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท โดยนำแผนการดำเนินงานมาหารือขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้บริษัทมีการดำเนินงานตามแผนขับเคลื่อน ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับปี 2557-2558 ที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติไว้
ในปี 2557 ได้พิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพิ่มขึ้นจากปีเดิม จำนวน 32 เรื่อง ส่งผลให้ผลคะแนนโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ในปี 2557 บริษัทได้คะแนนเฉลี่ยของทั้ง 5 หมวด เป็นคะแนน 87 ซึ่งมากกว่าปี 2556 และสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ไม่น้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของ SET 100 Index ที่ได้ 81 คะแนน) แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีบางเรื่องที่บริษัทไม่สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
คณะกรรมการควรมีขนาดที่เหมาะสมและประกอบด้วยบุคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถที่เพียงพอ ที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่ควรเกิน 12 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด ประเภท และความซับซ้อนของธุรกิจ
บริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวน 15 คน การเลือกตั้งกรรมการเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท โดยมีองค์ประกอบสอดคล้องกับข้อกำหนดของสำนักงานกลต. ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัท
บริษัทควรสนับสนุนให้กรรมการเข้าร่วม ในการฝึกอบรมที่จัดขึ้นสำหรับกรรมการให้มากที่สุด (มากกว่าร้อยละ75 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ) บริษัทมีการปฐมนิเทศแก่กรรมการใหม่ ทั้งที่เป็นกรรมการที่มีที่อยู่ต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งกรรมการมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แต่หากเป็นอบรมหลักสูตรสำหรับกรรมการ ที่จัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยนั้น ทางบริษัทได้มีกรรมการเข้าอบรมจำนวน 7 ท่าน จาก 15 ท่าน หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ดังนั้น ในปี 2558 บริษัทจึงมีแผนงานที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับกรรมการโดยเฉพาะ โดยให้ทางสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยมาอบรมที่บริษัท

             บริษัทย่อย
นโยบายการแบ่งการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม
ธุรกิจของบิ๊กซี คือ การผสมผสานระหว่างธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่าพื้นที่ การลงทุนในบริษัทอื่น โดยถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป ของทุนจดทะเบียนของบริษัท มีดังนี้
บริษัทย่อย
ส่วนใหญ่ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (โดยบิ๊กซีเข้าทำกิจการบนพื้นที่ดังกล่าว)
บางบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยร่วมทุนด้วย จะประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้า (บจ. บิ๊กซี แฟรี่ และ บจ. พิษณุโลก บิ๊กซี)
มีบางบริษัทอยู่ในระหว่างหยุดการประกอบกิจการ หรือยังไม่เริ่มดำเนินการ (บจ. เชียงใหม่ บิ๊กซี (2001), บจ. บิ๊กซี ดิสทริบิวชั่น และ บจ. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (ลาว)และมี 1 แห่ง คือ บจ. เอสเอสซีพี (ประเทศไทย) ที่ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในบริษัทอื่น (โฮลดิ้ง) อันเป็นโครงสร้างของบริษัทย่อยของคาร์ฟูร์ ก่อนมาควบรวมกับบิ๊กซี

บริษัทร่วม
ในปี 2557 เข้าถือหุ้นในบริษัทร่วม 2 แห่ง คือ บจ.ซี ดีสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ประกอบธุรกิจช็อปปิ้ง ออนไลน์ ภายใต้ชื่อ ซีดิสเคาท์ (Cdiscount) และ บจ. ซี-ดีสทริบิวชั่น เอเชีย พีทีอี ลิมิเต็ด ประกอบธุรกิจ    โฮลดิ้ง เพื่อดำเนินการลงทุนในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย และเวียดนาม




 การควบคุมภายใน
บริษัทให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน จึงได้มีการพัฒนาระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในและความเหมาะสมกับความเสี่ยง มีการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทําให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าบริษัทจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้สอบทานความเหมาะสมและความมีประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในที่ฝ่ายบริหารจัดให้มีขึ้น โดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบภายในและความเห็นของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในของบริษัท เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ระบบการควบคุมภายในของบริษัทเหมาะสม เพียงพอและครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการบริหาร การดำเนินงาน การบัญชีและการเงิน และการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
บริษัทได้ประเมินระบบการควบคุมภายในตามแบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ตามแบบประเมินของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งเป็นไปตามกรอบแนวทางปฏิบัติด้านการควบคุมภายในของเดอะ คอมมิทตี ออฟ สปอนเซอร์ ออแกไนเซชั่น ออฟ เดอะ เทรดเวย์ คอมมิชชั่น (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission: COSO 2013) โดยแยกพิจารณาตามองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ดังนี้
สภาพแวดล้อมการควบคุม
บริษัทสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดี โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างผลการดําเนินการที่เป็นเลิศ มีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจและแผนเชิงกลยุทธ์ทั้งระยะสั้น และระยะยาวที่ชัดเจน ซึ่งผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยมีการกำหนดตัววัดผลการดําเนินงานตามระบบบาลานซ์ สกอร์การ์ด (Balanced Scorecard :BSC) และ มีตัวชี้วัด เพื่อใช้ในการติดตามผล เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับทำการปรับเปลี่ยนหรือทบทวนแผนงานและกลยุทธ์ ให้ทันต่อสถานการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับทำการปรับเปลี่ยนหรือทบทวนแผนงานและกลยุทธ์ให้ทันต่อสถานการณ์ และปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป
มีการจัดโครงสร้างองค์กร สายการบังคับบัญชา และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายในที่เหมาะสม สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการมอบอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบที่เหมาะสม
กําหนดให้มีนโยบาย ระเบียบ ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งด้านการเงิน การจัดซื้อ การพนักงานและการบริหารทั่วไป โดยประกาศให้พนักงานทุกคนได้รับทราบและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน มีบทลงโทษทางวินัย ในกรณีที่พนักงานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มีการทบทวน นโยบาย ระเบียบ ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานดังกล่าว เพื่อปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานอยู่เสมอ
ในเรื่องบุคลากร ที่ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด บริษัทได้ให้ความสำคัญ มีการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะตําแหน่ง ของบุคลากรทุกตําแหน่งงาน มีมาตรฐานการประเมินผล และการให้ผลตอบแทนที่ชัดเจนเป็นธรรม สมเหตุสมผลโดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก พร้อมทั้งจัดให้พนักงานได้รับการพัฒนาฝึกอบรม ความรู้ ทักษะ ความสามารถให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ โดยบริษัทได้พัฒนาระบบสื่อการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ และได้ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้พนักงานเข้าเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้พนักงานได้มองเห็นแนวทางในการพัฒนาตนเองไปสู่สายอาชีพที่คาดหวัง และ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรของบริษัทอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
มีการกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสภาพแวดล้อม การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย
บริษัทได้จัดทำข้อกำหนดว่าด้วยจริยธรรม ให้พนักงานและผู้บริหารทุกคนได้ลงนามรับทราบ และได้จัดทำคู่มือจริยธรรมทางธุรกิจแจกให้กรรมการและผู้บริหารใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานและทำหน้าที่ ด้วยความความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส มีคุณธรรม
มีการจัดทำข้อกำหนดที่ใช้กับคู่ค้าทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติที่ผิดไปจากวิธีการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ และได้จัดทำข้อตกลง/นโยบายการรักษาความลับระหว่างบริษัท พนักงานฝ่ายจัดซื้อ และคู่ค้า โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย บนพื้นฐานความเชื่อว่า การเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท ควรจะดำเนินไปพร้อมกับความเติบโต และ พัฒนาการของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย



มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการเพื่อกำกับดูแลกิจการให้ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้ความสำคัญต่อความซื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรมในการดำเนินกิจการ จัดให้มีช่องทางรับข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการ รับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย หรือจริยธรรมทางธุรกิจหรือพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของบุคคลในองค์กรทั้งจากพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น รวมถึงรายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้องหรือระบบการควบคุมภายในที่บกพร่อง ผ่านทางจดหมาย โทรศัพท์ โทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Website ของบริษัท
การประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง
บริษัทมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อกำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ มีนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยง ที่กำหนดขั้นตอนการระบุตัวบ่งชี้เหตุการณ์หรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งจากภายนอกและภายในบริษัท ซึ่งจะทำการประเมินความเสี่ยงใน 2 ด้าน คือ ผลกระทบหรือความเสียหายจากการเกิดเหตุการณ์นั้น ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น เพื่อพิจารณาระดับค่าของความเสี่ยงที่อาจเป็นระดับสูง กลาง หรือต่ำ นำมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อพิจารณาหาความเสี่ยงที่ต้องจัดการเพิ่มการควบคุม โดยกำหนดเป็นแผนจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติม ที่มีการกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยง เพื่อให้ผู้จัดการความเสี่ยง ใช้ในการติดตามผลการบริหารความเสี่ยง และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงและความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท
ทั้งนี้บริษัท ยังได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ภัยธรรมชาติและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยมีการจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และ แผนสำรองฉุกเฉินสำหรับระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงและภาวะวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้น และทำให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานที่สำคัญของบริษัทจะมีความต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักจากเหตุความเสียหายต่างๆ รวมถึงสามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้


การบริหารความเสี่ยง
บริษัท ได้นำการบริหารความเสี่ยงองค์กร มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการรับมือกับความไม่แน่นอนที่จะมีผลกระทบต่อเป้าหมายการดำเนินงาน โดยได้กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจน และได้มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมให้มีการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัท บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังเป็นการช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอีกด้วย
คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัตินโยบายด้านการบริหารความเสี่ยงโดยกำหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รับผิดชอบดำเนินงาน ในการนี้ ฝ่ายบริหารต้องทำการประเมินความเสี่ยงทุกปี โดยครอบคลุมทั้งในด้านการดำเนินงาน การเงิน กลยุทธ์ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ตลอดจนถึงความเสี่ยงจากการทุจริต โดยมีผู้จัดการความเสี่ยง ทำหน้าที่ประสานงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลว่า ความเสี่ยงที่มีอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ และต้องรายงานปัญหา ตลอดจนเสนอแนวทางแก้ไข (ถ้ามี) ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง พิจารณา เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
กิจกรรมการควบคุม
บริษัทได้กําหนดกิจกรรมการควบคุมที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานหลักที่เป็นสาระสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งกิจกรรมควบคุมด้านระบบสารสนเทศที่สำคัญไว้อย่างเหมาะสม โดยเน้นกิจกรรมการควบคุมแบบป้องกันเป็นหลัก เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า วิธีการจัดการความเสี่ยงหรือการปฏิบัติตามกิจกรรมการควบคุมที่ได้กำหนดไว้นั้นได้มีการนำไปปฏิบัติจริง สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดําเนินงานได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการทบทวนนโยบายระเบียบปฏิบัติและกิจกรรมการควบคุมเป็นระยะๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสรุปกิจกรรมการควบคุมที่สำคัญ มีดังนี้
กําหนดระเบียบกรอบอํานาจอนุมัติรายการให้ผู้บริหารแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงมีการทบทวนความเหมาะสมของอํานาจอนุมัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กรที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และการควบคุมภายในที่ดี


มีการแบ่งแยกหน้าที่การปฏิบัติงาน ระหว่างผู้มีหน้าที่อนุมัติ ผู้บันทึกรายการและประมวลผลข้อมูล และผู้ดูแลรักษาทรัพย์สินออกจากกัน เพื่อให้มีการสอบทานระหว่างกัน และมีกลไกการถวงดุลอำนาจ มีการกระจายอํานาจเพื่อให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และมีนโยบายการหมุนเวียนพนักงานในตําแหน่งหน้าที่ที่สําคัญตามะยะเวลาที่เหมาะสม
ในการทำธุรกรรมที่เข้าเงื่อนไขเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทมีมาตรการที่รัดกุมโดยกำหนดเป็นนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการพิจารณาอนุมัติจะคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ อีกทั้งผู้มีอำนาจอนุมัติดังกล่าวจะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกรรมนั้นๆ รวมถึงมีการรายงานข้อมูลการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงเป็นรายบุคคลในการเข้าทำธุรกรรมที่มีลักษณะเกี่ยวโยงกับบริษัทโดยการกรอกแบบฟอร์มรายงานการมีส่วนได้เสียของตนเอง รวมถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อแสดงจำนวนหุ้นที่ถือในบริษัทและยื่นให้บริษัททราบภายในระยะเวลาที่กำหนด
มีการจัดทำนโยบายและคู่มือการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ท ของบริษัท และส่งอีเมล์ ประชาสัมพันธ์ถึงพนักงานทุกคน เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีความตระหนักเรื่องความปลอดภัยด้านระบบสารสนเทศ โดยมีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ทั้งในด้านการเข้าถึงข้อมูล และการนําข้อมูลไปใช้ ข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกจัดลำดับชั้นความสำคัญและมีการควบคุมการเข้าถึงอย่างเหมาะสม มีการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อีกทั้ง บริษัทประสบความสําเร็จในการดําเนินโครงการไอเอสโอ 27001 (ISO 27001) ในขอบข่ายของดาต้า เซ็นเตอร์ (Data Center) โดยได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานไอเอสโอ 27001 (ISO 27001) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555
มีฝ่ายกฎหมายและฝ่ายบรรษัทภิบาลทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยกำหนดมาตรการหรือกระบวนการในการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เช่น การรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ การพัฒนาระบบการจัดการด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และการแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ต้องดำเนินการ รวมทั้ง การจัดอบรมและให้คำปรึกษาในเรื่องการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร
บริษัทได้พัฒนาและปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่องและจัดให้มีช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยมีกระบวนการประมวลผลข้อมูลที่เป็นระบบ ถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันต่อเวลา เหมาะสมกับความต้องการใช้ข้อมูลในการปฏิบัติงานและในเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้มีข้อมูลสำคัญเพียงพอ ที่จะใช้สนับสนุนการตัดสินใจของคณะกรรมการและของฝ่ายบริหาร ดังเช่น ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ข้อมูลประกอบการประชุมจะถูกจัดส่งให้คณะกรรมการบริษัทล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการพิจารณาและตัดสินใจ มีการจัดทำรายงานการประชุมที่มีรายละเอียดของเรื่องที่พิจารณา รวมถึงการบันทึกข้อซักถาม ข้อสังเกตและความเห็นของกรรมการไว้อย่างครบถ้วน
มีการจัดเก็บเอกสารข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานการเงิน การบันทึกบัญชี และเอกสารสำคัญต่างๆ ไว้ครบถ้วนเป็นหมวดหมู่ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาการจัดเก็บให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่เคยได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีว่ามีข้อบกพร่องในเรื่องการจัดเก็บเอกสารแต่อย่างใด และคณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปีของบริษัทซึ่งได้ผ่านการสอบทานและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้ว ตลอดจนได้หารือร่วมกับฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับข้อมูลที่สำคัญในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัท อันได้แก่นโยบายบัญชี การประมาณการและการใช้ดุลยพินิจต่างๆ ที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นสอดคล้องกับผู้สอบบัญชีว่า รายงานทางการเงินของบริษัทได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเชื่อถือได้ การเลือกใช้นโยบายบัญชีมีความสมเหตุสมผล มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ และทันต่อเวลา เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้ใช้งบการเงิน
มีช่องทางการสื่อสารภายในบริษัทผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) และใช้อินเตอร์เน็ต ในการสื่อสารให้พนักงานทุกคนได้รับข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับนโยบายระเบียบ/คำสั่งของบริษัท รวมทั้งมีการประชุมภายในองค์กรในระดับต่างๆ ซึ่งพนักงานสามารถเสนอความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติงานและระบบงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดช่องทางการสื่อสารสำหรับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ผ่านทางเว็บไซต์ ของบริษัท


การติดตามและประเมินผล
บริษัทมีขั้นตอนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายหรือตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ และรายงานผลต่อผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ผลการดำเนินงานจริงแตกต่างจากแผนงานหรือเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้มีการวิเคราะห์หาสาเหตุ และกำหนดแนวทางแก้ไขภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการบริษัทเห็นว่าเหมาะสม
นอกจากนั้น บริษัท ได้จัดให้มีกิจกรรมการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมภายในที่วางไว้ ทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและการติดตามประมินผลโดยหน่วยงานที่แยกต่างหาก การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องถูกกำหนดไว้ในการปฏิบัติงานประจำ โดยรวมอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจปกติ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ในขณะที่การติดตามประเมินผลโดยหน่วยงานที่แยกต่างหาก ดำเนินการโดยฝ่ายตรวจสอบภายใน เพื่อประเมินความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในของกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงานที่สำคัญ ตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานผลต่อ คณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกไตรมาส รวมถึงมีการติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงกระบวนการทำงานตามข้อเสนอแนะในรายงานการตรวจสอบภายในเวลาที่เหมาะสม
ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2558 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบสรุปความเห็นในเรื่องความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน กล่าวคือ บริษัทมีการออกแบบและปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ ไม่มีข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ รายงานทางการเงินของบริษัทได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองทั่วไป มีการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินอย่างเพียงพอ การดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง



           ภาพรวมธุรกิจ



ในปี 2556 นี้ ถือเป็นปีที่ 20 ของ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ผู้นำในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ของไทย มีจุดเด่นในการจำหน่ายสินค้าคุณภาพราคาประหยัดที่ หลากหลาย บริการที่ดีเยี่ยม เป็นศูนย์กลางการจับจ่ายแบบครบวงจรที่สะดวกครบครัน และมีร้านค้าหลากหลายรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกกลุ่ม ตั้งแต่จุดกำเนิด บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ยืนหยัดเป็นผู้นำความคุ้มค่าด้านราคา นอกจากนั้นเรายังยึดมั่นกับการ “ให้คุณมากกว่าคำว่าถูก” กับลูกค้าทุกท่าน การที่เราผสมผสานระหว่างธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่าพื้นที่ โดยมีการคัดเลือกร้านค้าและบริการที่หลากหลายมาอยู่ในศูนย์การค้าของบิ๊กซี ทำให้เราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการเป็นศูนย์กลางการจับจ่ายได้อย่างครบวงจร
จากจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจการร้านค้าปลีกแห่งแรกในประเทศไทย ที่สาขาวงศ์สว่าง ตั้งแต่ปี 2536 บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ได้ขยายสาขาออกไปมากมายทั่วประเทศ ธุรกิจของเราครอบคลุมตั้งแต่ ธุรกิจแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตจนถึงร้านค้ารูปแบบอื่นๆ ยิ่งกว่านั้น เครือข่ายสาขาของเราเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2554 จากการควบรวมกิจการคาร์ฟูร์ (ประเทศไทย) ทำให้เราสามารถเข้าถึงพื้นที่การบริการลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้นยังทำให้เราสามารถเพิ่มความคุ้มค่าด้านราคาให้ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง และทำให้เราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้ทุกกลุ่มทุกความต้องการและครอบคลุมกลุ่มรายได้ทุกระดับ ซึ่งเป็น แนวทางที่จะนำพาเราไปสู่การเติบโตยิ่งขึ้นอีกในอนาคต
ไม่ว่าคุณจะเป็นลูกค้าหรือพนักงานกับบิ๊กซี คุณก็เปรียบเสมือนสมาชิกครอบครัวของบิ๊กซีเสมอ ปัจจุบันเรามีพนักงานกว่า 27,000 คน ทั่วทุกภูมิภาค จำนวนสมาชิกผู้ถือบัตร บิ๊กการ์ด ของเราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากตัวเลขตั้งแต่ปี 2009 ถึงปัจจุบันเรามีผู้ถือบัตรสมาชิก บิ๊กการ์ด จำนวนถึง 7.6 ล้านคน ในปี 2556
ปัจจุบันบิ๊กซี มีพนักงานมากกว่า 27,000 คน และมีสมาชิกผู้ถือบัตร Big Cards ถึง 7.6 ล้านคน
ภาพรวมอุตสาหกรรม
การผสมผสานระหว่างธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เรามุ่งมั่นที่จะเปิดศูนย์การค้าใหม่ๆ โดยมีไฮเปอร์มาร์เก็ตและมาร์เก็ตเป็นตัวดึงดูดลูกค้า ประกอบกับการบริการและความบันเทิงที่ทางร้านค้าเช่าซึ่งอยู่ในศูนย์การค้านำเสนอลูกค้า ทั้งสองส่วนนี้เป็นหลักสำคัญในการดึงดูดลูกค้าให้มาจับจ่ายใช้สอยในศุนย์การค้าที่ครบวงจรของเรา รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าถือเป็นแหล่งรายรับสำคัญของบิ๊กซี บิ๊กซีนำแผนงานการปรับปรุงพื้นที่เช่าให้มีขนาดที่เหมาะสมมากขึ้นและในขณะเดียวกันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจค้าปลีก และการจัดสรรพื้นที่เช่าให้ดียิ่งขึ้น ทำให้ร้านค้าเป็นที่น่าดึงดูดและเพิ่มรายได้ค่าเช่าจากการให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้า โดยไม่มีผลกระทบต่อยอดขายธุรกิจค้าปลีกของร้านค้าบิ๊กซี
แผนการพัฒนารูปแบบร้านและขนาดของบิ๊กซี
เราต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการในทุกรูปแบบและขนาดของร้านค้าปลีกที่ทันสมัย เรามีแผนที่จะขยายและพัฒนารูปแบบของร้านขนาดใหญ่ไฮเปอร์มาร์เก็ต จนถึงร้านค้าในชุมชนซึ่งมีความใกล้ชิดกับกลุ่มลูกค้ามากกว่า
การให้ความสำคัญแก่ลูกค้า
การมุ่งเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นเจตนารมณ์ของเรา ภายใต้สโลแกน "เราให้คุณมากกว่าคำว่าถูกโดยมีหลักสำคัญ 5อย่าง


ผู้นำด้านราคา: เราเป็นที่ยอมรับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจในเรื่องการเป็นผู้นำด้านราคา โดยเรามุ่งมั่นที่จะรักษาความเป็นผู้นำในด้าน ราคา ผ่านโปรแกรมหลากหลาย เช่น การตรวจสอบราคา ซึ่งรับประกันได้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะมีราคาถูกกว่าคู่แข่งในตลาด หรืออย่างน้อยเท่ากับคู่แข่ง
สินค้ามีครบสรร: เรามีสินค้านำเสนอ100,000 SKUsให้ลูกค้าได้เลือกสรร ตั้งแต่สินค้าราคาถูกที่สุดจนถึงระดับพรีเมี่ยม เรามุ่งมั่นพัฒนาสินค้าตราบิ๊กซีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าและเราได้เปิดตัวสินค้านำเข้าระดับพรีเมี่ยม ตราคาสิโน โดยมีการจัดจำหน่ายในสาขาของบิ๊กซีเอ็กตร้า
คุณภาพสินค้าและบริการ: นอกจากราคาที่ประหยัดสุดแล้ว เรายังมุ่งเน้นคุณภาพของสินค้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีให้กับลูกค้า ภายใต้ความร่วมมือของทีมงานที่มีประสบการณ์ นอกจากนี้เรายังสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า โดยนำเสนอโปรแกรมการรับคืนสินค้าอาหารสด หากคุณภาพของสินค้าไม่ตรงกับความคาดหวังของลูกค้า
บริการเสริม: บิ๊กซีมุ่งมั่นพัฒนาบริการเสริมอื่นๆ ให้แก่ลูกค้า เช่นช้อปปิ้งออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ และลูกค้าสามารถรับสินค้าด้วยตัวเอง หรือขอให้จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรง
ส่งเสริมความความสัมพันธ์: ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับลูกค้า เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาก เรามีการพัฒนา บัตรบิ๊กการ์ด บัตรสมาชิกที่ลูกค้าสามารถมีส่วนร่วม เพลิดเพลิน สนุกสนานไปกับคูปองส่วนลดเงินสดและส่วนลดสินค้าราคาสมาชิกในแต่ละสัปดาห์ ปัจจุบันเรามีสมาชิกมากกว่าหกล้านสมาชิกและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้สัดส่วนยอดขายจากสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 25% ในปี พ.ศ.2552 เป็นมากกว่า65% ในปัจจุบัน ปริมาณการซื้อสินค้าของสมาชิกในแต่ละครั้งนั้นสูงกว่าเกือบสองเท่าตัว เมื่อเทียบกับลูกค้าทั่วไป


 รางวัลที่เราภูมิใจ













1 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบระบบสารสนเทศอะไรบ้าง ละในแต่ระบบมีหน้ที่อะไรคะ

    ตอบลบ